สั่งซื้อกระเช้าข้าวไรซ์เบอรี่เป็นของขวัญปีใหม่ ข้าวคุณภาพสำหรับคนที่คุณรัก

ปัจจุบันเราสามารถจำหน่ายไปแล้ว 1,500 กิโลกรัม และมีข้าวไรซ์เบอรี่รอผู้สนบสนุนอยู่อีก 600 กิโลกรัม สามารถดูความเคลื่อนไหวบัญชี ซึ่งยังไม่อัพเดทนะครับ ผมจะนำมาทยอยให้ดูเพิ่มเติมครับ มีภารกิจค่อนข้างมาก ตัวบัญชีจะสมบูรณ์ขึ้นในอนาคตครับ และขณะนี้ "ระบบการสั่งซื้อ" สามารถใช้งานได้แล้ว กดที่ลิงก์นี้ครับ......ขอบคุณครับ ปรีดา 086-314-7866 เมื่อ 7 กรกฎาคม 2556

จัดตั้งองค์กรปันสุขค้าข้าว

ความเป็นมาและรายละเอียดโครงการ

โครงการจัดตั้ง “องค์กรปันสุขค้าข้าวไรซ์เบอรี่”
(โครงการต่อเนื่องจากโครงการ “ข้าวปันสุข” เพื่อจัดตั้งโรงสีชุมชน)

ความเป็นมาของโครงการ:

จากข้อมูลล่าสุดที่ประเทศไทยมีผลผลิตการปลูกข้าวเฉลี่ยเพียง 454.40 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นอันดับ 6 ของประชาคมอาเซียน หรือน้อยกว่าประเทศเวียดนาม 2 เท่า ในขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูก 66.69 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าเวียดนามที่มี 46.38 ล้านไร่* กอปรกับปัจจุบัน มีนาคม พ.ศ.2557 นโยบายจำนำข้าวถูกพิสูจน์แล้วว่าส่งผลด้านลบกับประเทศ โดยเฉพาะกับเกษตรกรเอง เนื่องจากมีช่องทางรั่วไหลมาก ในการคอรัปชั่น หรือละเลยเกิดช่องว่างในการดำเนินการให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เกษตรกรจึงต้องมุ่งหาหนทางใหม่ๆ เพื่อให้รอดพ้นจากภาวะหนี้สิน 

ดังนั้นการหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกพันธุ์ข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าพันธุ์ข้าวปกติ เช่น การปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ที่มีราคาจำหน่ายปลายทางสูงถึง 100-140 บาท ควบคู่กับการไม่ใช้สารเคมี ทำให้เป็นจุดแข็งของการจำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพ และการทำการประชาสัมพันธ์ 

สืบเนื่องจากโครงการเดิม “ข้าวปันสุข เพื่อจัดตั้งโรงสีชุมชน” ทำให้มีการติดต่อเข้ามาของเกษตรกรที่ต้องการร่วมโครงการ แต่ก็ยังมีความกังวลใจว่าปลูกข้าวไรซ์เบอรี่แบบปลอดสารเคมีแล้วจะไปขายให้กับใคร สำคัญคือถ้าปลูกกันมากๆ จากการรวมตัวกันในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วจะไปขายให้ใครที่จะมาซื้อมากๆ ราคาสูงๆ ประกอบกับมีผู้ค้าจำนวนมากติดต่อเข้ามาว่ามีความต้องการซื้อจำนวนมาก จะหาซื้อได้ที่ไหน หากต้องทำเป็นธุรกิจ ต้องเซ็นต์สัญญา ต้องรับผิดชอบ แล้วถ้าหาเกษตรกรปลูกให้ไม่ได้ จะเสียหายมาก

ทางทีมงานของโครงการข้าวปันสุข ซึ่งดำเนินการแบบอาสาสมัคร จึงมีความเห็นร่วมกันในการดำเนินการจัดตั้งองค์กรกลางจากทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ผลิต (เกษตรกร) กับฝ่ายผู้ค้า ให้ทั้งสองฝ่ายมามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการค้าข้าวไรซ์เบอรี่โดยการตั้งเป็นคณะกรรมการทั้งสองฝ่าย และร่วมกันเป็นคณะกรรมการกลางขององค์กรใหม่ที่จะตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นองค์กรที่จะปฏิวัติการค้าข้าวไรซ์เบอรี่รูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย และเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล เป็นความหวังของเกษตรกรและผู้ค้า และเป็นตัวอย่างในสังคมไทยต่อไป

*ข้อมูลจากรายการ ASEAN Beyond 2015 ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ.2556

ความเป็นมาของแบรนด์ “ข้าวปันสุข” และ “องค์กรปันสุขฯ”:

            พบว่าในระดับของการผลิตในเขตชนบทนั้น มันมีปัญหาเรื่องการตลาด คือผลิตสินค้าทางการเกษตรออกมาแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้ ส่งผลต่อการเก็บรักษา และต้นทุนสะสมการผลิต แทบจะทุกผลิตภัณฑ์ เราจึงมีแนวความคิดที่จะทำการตลาดให้กับสินค้าของเกษตรกร จึงตั้งชื่อแบรนด์หลักว่า “ปันสุข” หวังเพียงให้เกษตรกรมีความสุข จากการที่เราได้ทำการตลาดให้ด้วยความสามารถที่จะทำได้
การผลิตดังกล่าวของเกษตรกร ไม่เว้นแม้แต่การปลูกข้าว ที่ประเทศไทยมีไซโลและโกดังที่เก็บข้าวได้เพียง 6 ล้านตัน แต่ใน 1 ปี สามารถผลิตข้าวได้ถึง 30 ล้านตัน เป็นตัวอย่างของที่มาของการทำการเกษตรนั้นก็ต้องมีการวางแผนการจำหน่ายที่เหมาะสมด้วย จึงได้ตั้งชื่อแบรนด์รองว่า “ข้าวปันสุข” เพื่อช่วยเกษตรกรจำหน่ายด้วยวิธีการทางการตลาดต่างๆ

ทางทีมงานอาสาสมัครข้าวปันสุข มีความหวังว่า การนัดประชุมรวมตัวผู้เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ที่ใช้ชื่อในเบื้องต้นว่า “องค์กรปันสุขค้าข้าวไรซ์เบอรี่” จะสามารถเปลี่ยนวิถีทางในการทำธุรกิจด้านการเกษตรที่เป็นธรรมทุกด้านเกิดขึ้นในประเทศไทย และทางคณะกรรมการจะร่วมกันตั้งชื่อองค์กรใหม่ต่อไป

หลักการและเหตุผลของโครงการ:

ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพจากการทานอาหาร ที่มีกระบวนการผลิตที่ปลอดสารเคมีนั้นเป็นที่นิยม และเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือเกษตรกรควรทำ แต่วัฒนธรรมเกษตรอุตสาหกรรมเข้าครอบงำวัฒนธรรมดั่งเดิมทำให้เกษตรกรหันมาใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ดังนั้นหากมีผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งรวมถึงข้าวที่คนไทยบริโภคทุกวัน ปลอดสารเคมี ปลอดสารพิษ ย่อมดีต่อภาพรวมของสังคมทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิตเองที่ไม่ต้องรับสารพิษระหว่างดำเนินการ กอปรกับการแก้ปัญหาด้านผลตอบแทนที่เลือกพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ส่งผลทำให้มีราคาต่อหน่วยสูงกว่าพันุ์ข้าวปกติ เช่น พันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ ย่อมเป็นทางออกของเกษตรกรไทยในภาวะปัจจุบันอย่างลงตัว

หลังจากทีมงาน “ข้าวปันสุข” ได้ดำเนินงานมา 1 ปี พบว่ามีผู้ค้า เช่น โรงงานผลิตอาหารแปรรูป อาหารเสริม โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ผู้ส่งออกข้าว ผู้ค้าข้าวบรรจุถุง ผู้ค้าข้าวปลีก เป็นต้น ให้ความสนใจในการสั่งซื้อ จำนวนมาก ในขณะที่เกษตรกรก็ติดต่อเข้ามาจำนวนมากที่ปรึกษาในการผลิต แต่ต่างฝ่ายต่างก็มองอุปสรรคปัญหาของตนเองว่า เกษตรกรกังวลใจว่า ผลิตแล้วจะขายใคร ใครจะมารับซื้อข้าวไรซ์เบอรี่ปลอดสารเคมี ส่วผู้ค้าทั้งหลาย กังวลใจว่า เมื่อไปตกลงกับลูกค้าแล้ว จะหาข้าวที่ไหนไปขาย ไปส่งลูกค้า

ดังนั้นทางทีมงานจึงเห็นพ้องกันว่าจะนัดประชุมใหญ่ที่ห้องประชุมชั้น 3 สถานีไทยพีบีเอส ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 09.30-16.00 น. เพื่อให้ผู้ผลิตหรือเกษตรกร ได้พบปะกับผู้ค้า เพื่อความมั่นใจในการที่จะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และรับทราบว่ามีความต้องการมากแค่ไหน อีกทั้งร่วมรับฟังการจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการค้าข้าวไรซ์เบอรี่อย่างเป็นระบบ และร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการของแต่ละฝ่าย เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการขององค์กรต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ:
  1. เพื่อจัดตั้งองค์กรกลางค้าข้าวไรซ์เบอรี่ ที่มีคุณธรรม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดตั้งองค์กร
  2. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการทำการตลาดจำหน่ายข้าวไรซ์เบอรี่
  3. เพื่อให้ผู้ค้าเกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจ ภายใต้องค์กลางที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
  4. เพื่อให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวปลอดสารพิษ
  5. เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้น
  6. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการด้านการเพิ่มผลผลิต
  7. เพื่อให้ผู้ค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ:
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อให้เกษตรกร (ผู้ผลิต) และผู้ค้า เข้าร่วมโครงการจัดตั้งองค์กรฯ
  2. ติดต่อผู้ผลิต และผู้ค้าทางโทรศัพท์เพื่อให้เข้าร่วมการประชุมจัดตั้งองค์กรฯ
  3. จัดการประชุมจัดตั้งองค์กรกลางค้าข้าวฯ
  4. จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายผู้ผลิต ฝ่ายผู้ค้า และคณะกรรมการขององค์กรกลางฯ
  5. คณะกรรมการและฝ่ายผู้ผลิต กลับพื้นที่รวบรวมเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
  6. ทั้งสองฝ่ายกลับไปจัดทำข้อบังคับของแต่ละฝ่ายเพิ่มเติมจากข้อบังคับเริ่มต้นที่มีการนำเสนอในที่ประชุม
  7. จัดการประชุมใหญ่อีกครั้งเพื่อสรุปการดำเนินการของแต่ละฝ่าย และมอบหมายงานในการจัดตั้งองค์กร
  8. ทำการซื้อขายภายใต้ขอบังคับที่กำหนดขึ้น
  9. วางแผนทำการประชาสัมพันธ์ในระยะยาว และขยายแนวคิด ขยายสมาชิก
  10. วางแผนในการดำเนินการในระดับยุทธศาสตร์ และแผนดำเนินการในระดับพื้นที่ และการตลาด
  11. ทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก มีเว็บไซต์โครงการ และทางสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ เป็นรอง
  12. ทั้งสองฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมสมาชิกในการสร้างองค์กรฯ
สนใจลงทะเบียนร่วมงานที่ลิงก์ http://kaopansuk.blogspot.com/2013/08/1.html รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อการโอนค่าอาหารและอาหารว่าง 200 บาท ก่อนร่วมงาน

นายปรีดา ลิ้มนนทกุล
086-314-7866
ผู้ร่างโครงการ
15-03-57

ตารางเวลาวันประชุมจัดตั้ง “องค์กรปันสุขค้าข้าวไรซ์เบอรี่”
ห้องประชุม 3 อาคารการเรียนรู้ ชั้น 3 สถานีไทยพีบีเอส
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 9.30-15.30 น.

09.30-10.00 น. ลงทะเบียน และกรอกแบบสอบถาม
10.00-12.00 น. สไลด์แนะนำโครงการ
                       ผู้ค้าแนะนำตัวและแจ้งกำลังซื้อ
                       ผู้ผลิตแนะนำตัวและแสดงความคิดเห็น
                       ชี้แจงร่างข้อบังคับข้อตกลงของ “องค์กรปันสุขค้าข้าวไรซ์เบอรี่”
12.00-13.00 น. ทานข้าวกลางวัน
13.00-14.45 น. แยกกลุ่มร่างข้อบังคับข้อตกลง 2 ฝ่าย (ผู้ผลิต/ ผู้ค้า)
                       นำเสนอร่างข้อบังคับของทั้งสองฝ่าย
14.45-15.00 น. ทานอาหารว่าง
15.00-15.30 น. สรุปแนวทางการจัดตั้ง “องค์กรปันสุขค้าข้าวไรซ์เบอรี่”





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น