โครงการจำหน่าย
“ข้าวปันสุข” เพื่อตั้งโรงสีข้าวชุมชน พื้นที่จังหวัดชัยนาท”
(ภายใต้การสนับสนุนจากอาจารย์ชัชวาล
เวียร์รา)
ความเป็นมาของโครงการ:
จากข้อมูลล่าสุดที่ประเทศไทยมีผลผลิตการปลูกข้าวเฉลี่ยเพียง
454.40 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นอันดับ 6 ของประชาคมอาเซียน หรือน้อยกว่าประเทศเวียดนาม
2 เท่า ในขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูก 66.69 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าเวียดนามที่มี
46.38 ล้านไร่* จังหวัดชัยนาทมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 800,000
ไร่ และมีการปลูกข้าวถึงมากกว่า 600,000 ไร่ คิดเป็น 1% ของพื้นที่เพาะปลูกของประเทศไทย
แต่จังหวัดชัยนาทเป็นพื้นที่เขตชลประทานมีความอุดมสมบูรณ์
สามารถปลูกข้าวนอกฤดูกาลได้
แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายจำนำข้าวถึงตันละ 15,000 บาท แต่ปัจจัยของการได้ผลผลิตต่อตันนั้นมีหลายปัจจัย
หลังเก็บเกี่ยวยังมีปัจจัยสำคัญคือ การเก็บเกี่ยว การชั่งน้ำหนัก และการตรวจวัดความชื้น
ซึ่งส่งผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่มาก หรือยังมีภาวะหนี้สินอยู่
เนื่องจากหลายปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงปัจจัยด้านต้นทุนที่ใช้ปุ๋ยเคมี
และสารเคมี
ตลอดปี พ.ศ.2555
ในการลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท พบว่า เกษตรกรมีความเชื่อดั่งเดิมเรื่องการนิยมใช้สารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืช
นิยมใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และยังไม่มีระเบียบในการวางแผนการเงิน
และการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว
ไม่มีความสามัคคีในการรวมกลุ่มกันเพื่อบริหารจัดการผลผลิต
และบางพื้นที่ผู้นำท้องถิ่นไม่มีความซื่อตรงต่อการบริหารจัดการ การปกครอง ไม่จริงใจ
และไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการผลิตข้าว
ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า
ต้องมีการคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณธรรม มีจิตสำนึกของความเป็นเพื่อนมนุษย์
มีความจริงใจ ที่จะร่วมโครงการเชิงคุณภาพ และควรที่จะช่วยทำการตลาด
ค้าปลีกข้าวสารปลอดสารเคมี เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการร่วมโครงการ
ส่งผลต่อการรับซื้อในราคาที่สูง ทำให้เกษตรกรมีความกระตือรือร้นในการปลูกข้าวแบบปลอดสารพิษ
ไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี จึงเป็นที่มาของ โครงการจำหน่าย “ข้าวปันสุข”
เพื่อตั้งโรงสีข้าวชุมชน พื้นที่จังหวัดชัยนาท”
*ข้อมูลจากรายการ ASEAN
Beyond 2015 ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS เมื่อ 3
มกราคม พ.ศ.2556
ความเป็นมาของแบรนด์ “ข้าวปันสุข”:
พบว่าในระดับของการผลิตในเขตชนบทนั้น
มันมีปัญหาเรื่องการตลาด คือผลิตออกมาแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้
ส่งผลต่อการเก็บรักษา และต้นทุนสะสมการผลิต แทบจะทุกผลิตภัณฑ์ เราจึงมีแนวความคิดที่จะทำการตลาดให้กับสินค้าของเกษตรกร
จึงตั้งชื่อแบรนด์หลักว่า “ปันสุข” หวังเพียงให้เกษตรกรมีความสุข
จากการที่เราได้ทำการตลาดให้ด้วยความสามารถที่จะทำได้
การผลิตดังกล่าวของเกษตรกร
ไม่เว้นแม้แต่การปลูกข้าว ที่ประเทศไทยมีไซโลและโกดังที่เก็บข้าวได้เพียง 6
ล้านตัน แต่ใน 1 ปี สามารถผลิตข้าวได้ถึง 30 ล้านตัน
เป็นตัวอย่างของที่มาของการทำการเกษตรนั้นก็ต้องมีการวางแผนการจำหน่ายที่เหมาะสมด้วย
จึงได้ตั้งชื่อแบรนด์รองว่า “ข้าวปันสุข”
เพื่อช่วยเกษตรกรจำหน่ายด้วยวิธีการทางการตลาดต่างๆ
หลักการและเหตุผลของโครงการ:
ในระดับของชุมชนนั้น
หากมีศูนย์กลางของการสีข้าว โดยคนในชุมชน ย่อมทำให้เกิดข้อดีหลายประการ เกิดความสามัคคีในชุมชน
สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจากจุดเก็บเกี่ยว สามารถควบคุมข้อกำหนดการสีข้าวได้
ไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิตข้าว โดยอาศัยหลักการ 50: 50 คือ ส่งผู้ค้าคนกลาง 50% และชุมชนสีข้าวเอง 50%
คล้ายกับการบริหารจัดการประเทศ ที่ไม่ควรพึ่งพิงการส่งออก
ในสัดส่วนที่มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ เปรียบเทียบเช่นเดียวกัน ในส่วนครึ่งหนึ่ง
หากเกษตรกรสีข้าวกินเอง ไม่ต้องซื้อ
แล้วยังสีข้าวใส่แพ็คเกจแบบสุญญากาศเพื่อจำหน่ายเอง
ทำให้ได้เงินสดมาหมุนเวียนในครัวเรือน อีกครึ่งหนึ่งส่งให้ผู้ค้าข้าวคนกลาง
ซึ่งยังไม่ได้เงินสด ต้องรอตั้งเบิกตามโครงการรับจำนำข้าว
ก็จะทำให้เกษตรกรเริ่มที่จะมีชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น จนสามารถปลดหนี้สินได้
หน้าที่ของผู้บริหารโครงการ
จึงเป็นการทำการตลาด ให้มีการสั่งซื้อข้าวล่วงหน้า ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการผลิตข้าว
และโครงการนี้ยังใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว “ไรซ์เบอร์รี่” ซึ่งมีคุณภาพแร่ธาตุสารอาหารในเมล็ดข้าวสูง
** (เอกสารแนบท้าย) จึงทำให้มีราคาขายปลีกที่สูงในระหว่าง 100-140 บาท ส่งผลต่อการรับซื้อข้าวเปลือกกับเกษตรกร
ที่ทางผู้บริหารโครงการฯ อาจจะรับรับซื้อได้สูงกว่าราคากลางที่รัฐบาลกำหนด ทั้งนี้เกษตรกรที่ร่วมโครงการต้องไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ
ในระหว่างการผลิตอีกด้วย
โครงกรนี้จะบริหารงานผ่าน
“หสม.เพื่อนชัยนาท” ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำภารกิจทำให้คุณภาพชีวิตของชาวชัยนาทดีขึ้นในทุกๆ
ด้าน ด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ ผลิตภัณฑ์ และการตลาด
วัตถุประสงค์โครงการ:
- เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการทำการตลาดจำหน่ายข้าวปลีก
- เพื่อให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวปลอดสารพิษ
- เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
- เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการด้านการเพิ่มผลผลิต
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ:
2. ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ
3. ทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก มีเว็บไซต์โครงการ และทางสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ เป็นรอง
4. ผู้ซื้อสินค้าดูวันรับมอบสินค้า และสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ชำระเงินตามช่องทาง และสั่งพิมพ์คูปอง
5. ฝ่ายบริหารโครงการนำสินค้าไปวางตามจุดรับสินค้า
6. ผู้ซื้อสินค้า สามารถไปรับสินค้าได้ตามจุดรับสินค้าที่เลือกไว้ ในระบบการสั่งซื้อ
7. ฝ่ายบริหารโครงการนำผลกำไร ไปจัดซื้อเครื่องสีข้าว และตั้งที่โรงสีข้าวชุมชน
8. คณะทำงานวางแผนการใช้เครื่องสีข้าว เพื่อให้เกษตรกรมีความคุ้มค่า และมีรายได้ดีขึ้น
9. หลังติดตั้งเครื่องสีข้าว รับสีข้าวและรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร แต่ให้ความสำคัญกับสมาชิกที่ร่วมโครงการก่อนเนื่องจากมีการสั่งซื้อล่วงหน้า
10. มีการจัดฝึกอบรมการปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ให้กับสมาชิกที่ร่วมโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น