สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมกับพี่หนุ่มรีบมาที่จังหวัดชัยนาทกันแต่เช้า ไปแวะรับพี่ดวงพร ก่อนที่บ้าน เพื่อรีบไปที่แปลงนา 9 ไร่ของเกษตรกรที่ร่วมโครงการงานวิจัยเชิงคุณภาพในการใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ในการปลูกข้าว ซึ่งในครั้งนี้ เราใช้ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการและการลงมือปฏิบัติจากอาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์รา จากจังหวัดสิงห์บุรี ที่ประสบความสำเร็จในการทำนาข้าวปลอดสารพิษ และกำลังทำโครงการสำคัญในพื้นที่ทหาร
อาจารย์ได้ให้ความสำคัญกับวิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์อย่างมาก เวลาอาจารย์มีค่า มีเกษตรกรที่ร่วมโครงการหลายจังหวัด วันนี้อาจารย์มาตามที่รับปาก ช่วยเหลือพี่เพ็ญศรี ในการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบนาหว่าน เนื่องจากเตรียมต้นกล้าไม่ทัน เพราะว่า พี่เพ็ญศรี ประสบปัญหากระทันหันจากการเข้าร่วมโครงการหนึ่ง ไม่ความไม่รับผิดชอบของผู้นำโครงการ ซึ่งผมไม่อยากจะกล่าวในทีนี้ เพราะขนาดที่ผมช่วยเหลือผู้นำคนนี้ทุกเรื่อง ยังโดนกระทำ จึงทำให้เสียความรู้สึกอย่างมาก และยังสะท้อนใจอีกว่า เกษตรกรยากที่โงหัวขึ้นมาได้ แต่อีกด้าหนึ่ง ก็กลับทำให้มีกำลังใจว่า อยากจะพัฒนาโครงการไปพร้อมๆ กับคนที่มีความตั้งใจจริง ดังนั้นโครงการ "ข้าวปันสุข"ฯ จึงไม่ล้มไป แต่ยังเดินหน้าต่อ
วันี้จึงเป็นวันเดินหน้าต่อของโครงการ อาจารย์พาคุณเจริญ และคุณเขียว มาด้วยเพราะชักร่อง ปรับพื้น และหว่านข้าว มีแปลงนาข้างๆ แซวด้วยว่า หว่านข้าวบางมาก แปลงข้างๆ เป็นนาดำ ส่วนแปลงตรงข้ามเป็นนาหว่าน มีความท้าทายมากมายในการลงนาแปลงนี้ ซึ่งผมก็จะลำดับความก้าวหน้ามาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อไป ให้ข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ปกติชาวนาจะหว่านข้าวไร่ละ 25-30 กิโลกรัมข้าวเปลือก แต่สำหรับโครงการของเรา ถ้าทำนาหว่านใช้เพียง 5 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ เท่านั้น
ผมสังเกตุว่า อาจารย์จะหว่านไปข้างหน้าที่ 10, 11, 12, 13, 14 นาฬิกา และหันหลังกลับมาหว่านแนวตรงตามเส้นทางที่เดินทุก 3 ช่วง และจะมีการเก็บตก ซ้ำในบางตำแน่งที่หว่าน เบื้องต้นสามารถบ่งบอกถึงมาตรฐานในการหว่านในระดับหนึ่งครับ ผมคงต้องขึ้นไปชัยนาทบ่อยๆ ในช่วงนี้ เพราะผมได้ตัวแปรอิสระ หรือปัจจัย ต่อปริมาณผลผลิตทั้ง 14 ข้อแล้ว จะนำมาแบ่งปัน เพื่อนๆ ต่อไปครับ
อาจารย์ได้ให้ความสำคัญกับวิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์อย่างมาก เวลาอาจารย์มีค่า มีเกษตรกรที่ร่วมโครงการหลายจังหวัด วันนี้อาจารย์มาตามที่รับปาก ช่วยเหลือพี่เพ็ญศรี ในการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบนาหว่าน เนื่องจากเตรียมต้นกล้าไม่ทัน เพราะว่า พี่เพ็ญศรี ประสบปัญหากระทันหันจากการเข้าร่วมโครงการหนึ่ง ไม่ความไม่รับผิดชอบของผู้นำโครงการ ซึ่งผมไม่อยากจะกล่าวในทีนี้ เพราะขนาดที่ผมช่วยเหลือผู้นำคนนี้ทุกเรื่อง ยังโดนกระทำ จึงทำให้เสียความรู้สึกอย่างมาก และยังสะท้อนใจอีกว่า เกษตรกรยากที่โงหัวขึ้นมาได้ แต่อีกด้าหนึ่ง ก็กลับทำให้มีกำลังใจว่า อยากจะพัฒนาโครงการไปพร้อมๆ กับคนที่มีความตั้งใจจริง ดังนั้นโครงการ "ข้าวปันสุข"ฯ จึงไม่ล้มไป แต่ยังเดินหน้าต่อ
วันี้จึงเป็นวันเดินหน้าต่อของโครงการ อาจารย์พาคุณเจริญ และคุณเขียว มาด้วยเพราะชักร่อง ปรับพื้น และหว่านข้าว มีแปลงนาข้างๆ แซวด้วยว่า หว่านข้าวบางมาก แปลงข้างๆ เป็นนาดำ ส่วนแปลงตรงข้ามเป็นนาหว่าน มีความท้าทายมากมายในการลงนาแปลงนี้ ซึ่งผมก็จะลำดับความก้าวหน้ามาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันต่อไป ให้ข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ปกติชาวนาจะหว่านข้าวไร่ละ 25-30 กิโลกรัมข้าวเปลือก แต่สำหรับโครงการของเรา ถ้าทำนาหว่านใช้เพียง 5 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ เท่านั้น
แปลงนาข้างๆ ครับ เป็นนาดำ
ลุงเจริญ กำลังหว่านครับ
อ.ชัชวาลย์ กำลังหว่านครับ
ผมสังเกตุว่า อาจารย์จะหว่านไปข้างหน้าที่ 10, 11, 12, 13, 14 นาฬิกา และหันหลังกลับมาหว่านแนวตรงตามเส้นทางที่เดินทุก 3 ช่วง และจะมีการเก็บตก ซ้ำในบางตำแน่งที่หว่าน เบื้องต้นสามารถบ่งบอกถึงมาตรฐานในการหว่านในระดับหนึ่งครับ ผมคงต้องขึ้นไปชัยนาทบ่อยๆ ในช่วงนี้ เพราะผมได้ตัวแปรอิสระ หรือปัจจัย ต่อปริมาณผลผลิตทั้ง 14 ข้อแล้ว จะนำมาแบ่งปัน เพื่อนๆ ต่อไปครับ
อยากทราบว่าแปลงนาคุณเพ็ญศรี อยู่แถวไหนค่ะ....เพราะดิฉันอยู่ชัยนาท มีความสนใจอยากจะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ค่ะ อยากทราบข้อมูลค่ะ
ตอบลบรบกวนโทรหาผม 086-314-7866 เพื่อให้เบอร์มือถือคุณเพ็ญศรี ครับ แล้วติดต่อสอบถามรายละเอียดอีกทีครับ
ลบ